วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาคผนวก (Appendix)

พรศรี ศรีอัษฎาพรและยุวดี วัฒนานนท์ (2529 : 161) ได้กล่าวว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง
เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=617251ee33a0cd55  กล่าวว่า ภาคผนวก คือรายการที่ผู้ทำรายงานต้องการเสนอเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องรายการเหล่านี้มีความสัมพันธ์และช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องดีขึ้น เช่น ตัวเลขสถิติ แบบสอบถามตาราง ลำดับ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

สรุป
ภาคผนวก หมายถึง ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อ ให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาเสนอในส่วน เนื้อหาหลักแต่นำมาใส่เอาไว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ
อ้างอิง
พรศรี ศรีอัษฎาพรและยุวดี วัฒนานนท์.  (2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
เรืองอุไร ศรีนิลทา. (2535).  ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัย.
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=617251ee33a0cd55. เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555.

เอกสารอ้างอิง (References)

วัลลภ ลำพาย  (2547 : 178) กล่าวว่า เอกสารอ้างอิงคือ ส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ
พิชิต ฤทธิ์จรูญ  (2544 : 389) กล่าวว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809  กล่าวว่า เอกสารอ้างอิง หมายถึง หนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการค้นคว้าที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาหา ข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานโดยให้เขียนชื่อหนังสือที่เป็นภาษาไทยให้ ครบทุกเล่มก่อน และต่อด้วยหนังสือภาษาอังกฤษ โดยเรียงชื่อผู้แต่งตามอักษรก่อนหลัง
สรุป
เอกสารอ้างอิง หมายถึง การอ้างอิงแหล่งสารนิเทศซึ่งเป็นทฤษฎี ข้อมูล ความรู้ มาประกอบในผลงานทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ เพื่อบอกแหล่งที่มาของสารนิเทศอันเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานเหล่า นั้น
อ้างอิง
วัลลภ ลำพาย.  (2547).  เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.  (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฎพระนคร.
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809. เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555.

งบประมาณ (Budget)

สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง  (http://km.ru.ac.th/techno/index.) กล่าวว่า  งบประมาณ หมายถึง แผนเบ็ดเสร็จ ซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงินแสดงโครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะหนึ่ง รวมถึงการกะประมาณการบริหารกิจกรรม โครงการและค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุน การดำเนินงานให้บรรลุตามแผนนี้ย่อมประกอบด้วยการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ (1) การจัดเตรียม (2) การอนุมัติและ (3) การบริหาร
                วิชาญ ปัสพงษ์  (http://www.learners.in.th/blogs/posts/155175.) กล่าวว่า งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน  สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า   ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี   การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร   และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้
เอกพล  จันดี (2543 : 64 ) กล่าวว่า งบประมาณ คือ รายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดหาและใช้จ่ายเงินและทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับชั่วระยะเวลาหนึ่ง งบประมาณเป็นแผนงานในอนาคตที่แสดงเป็นตัวเลข กิจการใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงาน
สรุป
งบประมาณ หมายถึง ระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตโดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ
อ้างอิง
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.[ออนไลน์]. http://km.ru.ac.th/techno/index. เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555.
วิชาญ ปัสพงษ์.[ออนไลน์]. http://www.learners.in.th/blogs/posts/155175. เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555.
เอกพล  จันดี.  (2543 ).  เทคนิคการเขียนงานวิจัย.  มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)

                                          
เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
       1.วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค
2.กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้
3.ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4.การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
  เฉลิมลาภ ทองอาจ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637) กล่าวว่า การบริหารการวิจัยจึงหมายถึง การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้มีการผลิตหรือสร้างสรรค์การวิจัย  การวางแผนการวิจัย  การติดตามและควบคุมดูแลการวิจัยให้ดำเนินไปตามแผน  การเผยแพร่และใช้ผลงานวิจัย 
สรุป
การ บริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
อ้างอิง
เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531).หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น
เฉลิมลาภ ทองอาจ.[ออนไลน์]. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637 .เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2555.

อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข

                ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
แนวทางการแก้ไข
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
McLean,J. (อ้างอิงจาก สุวิมล ว่องวาณิช. 2544 : 91 ) กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
                แนวทางการแก้ไข
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538 : 6) กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2)ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย      
3)มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย    
4)นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย                
5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
 แนวทางการแก้ไข             
1)กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ                                            
2)สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ                                                     
3)ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ           
4)ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ                   
5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

สรุป
อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัย การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้มองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง

อ้างอิง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล.  (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
                หอสมุดกลาง.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544).  การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน             
                จำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. (2538).  หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.
กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)

                พจน์ สะเพียรชัย (2516 : 96 ) กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
ศรัญญา ทองมี  (2541 : 97 )  กล่าวว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย คือ เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ
                http://www.watpon.com/Elearning/res9.htm กล่าวว่า  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ประโยชน์ของการวิจัยจะมีมากน้อยเพียงใด นั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือและถูก ต้องมากน้อยเพียงใด ถ้าข้อมูลเป็นเท็จผลการวิจัยที่ได้แทนที่จะเป็นประโยชน์จะกลับกลายเป็นโทษ ต่อผู้นำผลการวิจัยนั้นไปใช้ ดังนั้นการวิจัยจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความรับผิด ชอบของนักวิจัย ตลอดจนความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลด้วย
สรุป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ควรให้ประโยชน์ครอบคลุมทั้งผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่าผลดังกล่าว จะตกกับใคร ประโยชน์ที่ได้รับจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือและถูกต้องมากน้อยเพียงใด
อ้างอิง
พจน์ สะเพียรชัย. (2516). หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร       
ศรัญญา ทองมี.  (2541 ).  หลักการเบื้องต้นทางการวิจัยเชิงปฏิบัติ.  มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 
http://www.watpon.com/Elearning/res9.htm.เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.

ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย

                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222) กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา
                จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย 

               นิรันดร์   จุลทรัพย์ (2552:293) กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการแจ้งให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยได้ทราบว่าในการ ศึกษาวิจัยนี้มีอุปสรรคและข้อจำกัดอะไรบ้างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
                สรุป
                ข้อจำกัดในการวิจัย หมายถึง ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองในการวิจัย โดยผู้วิจัยไม่สามารถควบคุม หลีกเลี่ยงได้ และสิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้การวิจัยได้ผลไม่สมบูรณ์
อ้างอิง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์. (2545). สถิติและการวิจัยทาง
สังคมศาสตร์.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จำเรียง  กูรมะสุวรรณ. (2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ:สามเจริญพานิช.
นิรันดร์  จุลทรัพย์.(2552). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.(พิมพ์ครั้งที่2):นำศิลป์โฆษณา.